ปี 2561 : โครงการศูนย์ความเป็นเลิศด้านระบบบริหารจัดการน้ำ : ระยะที่ 1

28/10/2019

โครงการพัฒนาระบบศูนย์คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ปี 2555 – 2560 ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นระบบกลางในการรวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำและภูมิอากาศ ที่มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย ระบบการจัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมูล ระบบประมวลผลข้อมูล และระบบการแสดงผลข้อมูล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการรับมือกับภัยพิบัติและความแปรปรวนของสภาพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที

ทั้งนี้ ในอนาคตสถานการณ์น้ำและภัยพิบัติด้านน้ำจะทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น ภายใต้องค์ความรู้ภายในประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด ประเทศไทยจำเป็นต้องแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีต่างๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้น สสนก. จึงได้พัฒนา “โครงการศูนย์ความเป็นเลิศด้านระบบบริหารจัดการน้ำ” เพื่อวิจัยและพัฒนาระบบคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง เพิ่มพูนองค์ความรู้ให้ทันสมัยตลอดเวลา ให้ระบบมีเสถียรภาพมากขึ้น รองรับการใช้งานหลากหลายมิติ ตั้งแต่การติดตามสถานการณ์ การบริหารในภาวะวิกฤต ตลอดจนการกำหนดกรอบการพัฒนาด้านทรัพยากรน้ำของประเทศ  รองรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่จะมีความซับซ้อนและรุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การให้บริการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพวิเคราะห์ ผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในระดับนานาชาติ พัฒนาศักยภาพของบุคลากร และถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2561

1) เพิ่มประสิทธิภาพระบบคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ

เว็บไซต์คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติและระบบสนับสนุน
http://web.thaiwater.net/thaiwater30/

พัฒนาเว็บไซต์คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติและระบบสนับสนุน ให้บริการข้อมูลสถานการณ์ด้านฝน น้ำ อากาศ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำของประเทศ โดยแสดงผลข้อมูลจากการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีมิติในการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำในหลากหลายมิติ เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง และคุณภาพน้ำ ปัจจุบันถูกนำไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

เว็บบริการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

เพิ่มประสิทธิภาพระบบให้บริการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยพัฒนาระบบให้บริการข้อมูลแบบ Web Service เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐเชื่อมโยงข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์นำไปใช้กับระบบของแต่ละหน่วยงานได้

เว็บพัฒนาระบบอัจฉริยะสนับสนุนการตัดสินใจด้านบริหารจัดการน้ำของประเทศ

พัฒนาระบบอัจฉริยะสนับสนุนการตัดสินใจด้านบริหารจัดการน้ำของประเทศ ระยะที่ 1 (Business Intelligence and Decision Support System) โดยนำข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติที่มีการจัดการแบบระบบข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 ระบบนี้ใช้คาดการณ์สถานการณ์ภัยแล้ง น้ำท่วม โดยการวิเคราะห์สถานการณ์ฝนปัจจุบันเทียบกับข้อมูลย้อนหลังแบบ Pattern Recognition เพื่อหาแนวโน้มสถานการณ์ฝนที่ใกล้เคียงกัน ให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นเครื่องมือประกอบการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำได้ถูกต้องมากขึ้น

ผลการวิเคราะห์การคาดการณ์ฝนได้จากการเปรียบเทียบข้อมูลอุณหภูมิผิวน้ำทะเล หรือ Sea Surface Temperature (SST) ณ วันปัจจุบันบวกกับข้อมูลย้อนหลังอีก 6 วัน (รวมทั้งหมดเป็น 7 วัน) และทำการคำนวณหาค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความเหมือนทั้ง 7 วัน กับข้อมูลอุณหภูมิผิวน้ำทะเลทั้งหมด 5 ปีย้อนหลัง รูปด้านล่างเป็นผลการเปรียบเทียบข้อมูลอุณหภูมิผิวน้ำทะเล ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2018 จะได้ข้อมูลที่มีเปอร์เซ็นต์ความเหมือนสูงสุดคือ วันที่ 10 มิถุนายน 2015 หลังจากนั้นนำข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายวัน หรือ GsMap ณ วันที่ 10 – 17 มิถุนายน 2015 มาแสดงผล ซึ่งข้อมูลฝนดังกล่าวเป็นผลการคาดการณ์ฝน ณ วันที่ 15 – 22 พฤษภาคม 2018

ระบบศูนย์บริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด

พัฒนาระบบศูนย์บริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด โดยนำข้อมูลจากคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติมาแสดงผลข้อมูลระดับจังหวัด จัดเป็นชุดข้อมูลสำหรับติดตามสถานการณ์ (Monitoring) และชุดข้อมูลสำหรับการคาดการณ์สถานการณ์ (Forecasting) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์บริหารจัดการน้ำฯ สามารถติดตามสถานการณ์ระดับพื้นที่ได้โดยสะดวกและทันการณ์

ปรับปรุงประสิทธิภาพอากาศยานไร้คนขับสำหรับติดตามสถานการณ์ ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. โดยการประเมินประสิทธิภาพของระบบเดิม พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเป็นระบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นให้สามารถทำการบินได้ไกลมากกว่า 15 กิโลเมตร และส่งสัญญาณภาพแบบ Real Time มายังสถานีภาคพื้นได้ไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร

การเพิ่มประสิทธิภาพแบบจำลองคาดการณ์ระยะสั้น

ติดตั้งและทดสอบแบบจำลองคาดการณ์สภาพอากาศ WRF 3.9.1 ที่เพิ่มทางเลือกในการทำงานเป็น แบบ HVC (Hybrid sigma-pressure vertical coordinate) ซึ่งทำให้การจำลองสภาพอากาศสมจริงมากยิ่งขึ้น  

วันที่ 25 มกราคม 2561 สสนก. ลงนามความร่วมมือ กับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เพื่อใช้ข้อมูลตรวจสภาพอากาศชั้นบนของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในการเพิ่มความแม่ยำของแบบจำลองคาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้นของประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพของปฏิบัติการฝนหลวงและการบริหารจัดการน้ำ

การอบรมเชิงปฎิบัติการ WRF for Fun Science 2018 ในระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2561 ณ สสนก. เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์แบบจำลอง WRF  และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญจาก กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ สสนก. ให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย นิสิต และผู้ที่สนใจจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 12 หน่วยงาน รวม 37 ท่าน  

สัมนาเชิงปฎิบัติการงานวิจัยสู่การปฏิบัติ R2O ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2561 ในหัวข้อ “Dynamic Modeling and Data Science in BIG DATA Era” ณ ห้องปารีส โรงแรมเมอร์เคียว เชียงใหม่ และได้เยี่ยมชมดูงานของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ณ จังหวัดเชียงใหม่

พัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการวิเคราะห์ (Data Science and Data Analytics)

ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศเพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวน้ำทะเลกับปริมาณน้ำฝนของประเทศไทย เพื่อใช้ชี้แนวโน้มสถานการณ์ เฝ้าระวังภัยน้ำท่วมและภัยแล้ง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นำไปใช้งานในพัฒนาระบบอัจฉริยะสนับสนุนการตัดสินใจด้านบริหารจัดการน้ำของประเทศ ระยะที่ 1

เมื่อวันที่ 27-30 เมษายน 2561 นำเสนอบทความทางวิชาการที่งาน 2018 3rd International Conference on Computer and Communication Systems ในหัวข้อ  An Application of Numbers and Characters Recognition and Classification on Radar Images Using for Flood Monitoring ที่ Nagoya Institute of Technology เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นการนำเสนอองค์ความรู้ การรู้จำตัวเลขและตัวอักษรจากภาพเรดาร์และภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับเก็บวันที่ของภาพ เมื่อไม่มีค่าวันที่ใน metadata ของภาพเรดาร์และภาพดาวเทียมที่ใช้ในการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมของประเทศไทย

2) เผยแพร่ ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การบริหารจัดการน้ำร่วมกับนานาประเทศ

การเข้าร่วมงาน The 2nd UNISDR Global Science and Technology Advisory Group (Global STAG) ณ กรุงเจนีวา สหพันธรัฐสวิส ระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2561

วันที่ 5 – 7 กันยายน 2561 ผสสนก. และคณะเดินทางเข้าร่วมงาน Busan Global Water Forum ซึ่งจัดขึ้นโดย Busan Municipal ร่วมกับ International Water Association (IWA) และได้ร่วมบรรยายเรื่อง “Integrated Water Resources Management for High Benefit High Impact”

งานอื่นๆ