ประวัติความเป็นมา

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงห่วงใยสถานการณ์น้ำมาโดยตลอด ทรงให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจบริหารจัดการน้ำ ในปี พ.ศ. 2538 เกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ ทรงพบว่าข้อมูลน้ำขาดการบูรณาการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วางแผนพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

เกิดเป็น “โครงการระบบเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย” มีนายเชาวน์ ณศีลวันต์ องคมนตรี เป็นประธานโครงการ และมอบหมายให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร หรือ สสนก. ซึ่งในขณะนั้นเป็นหน่วยงานวิจัยภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาระบบ ปี พ.ศ. 2541 เริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศเชื่อมต่อและเก็บรวบรวมข้อมูลทรัพยากรน้ำ เริ่มจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2545 และได้ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจพัฒนาและบริหารจัดการน้ำ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

โครงการระบบเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย
ระบบเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย

2541

เริ่มพัฒนา ระบบเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย ในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นโครงการที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ เข้ามาเป็นระบบเดียวกัน แสดงผลรวมบนแผนภาพเดียว เพื่อการจัดการแบบองค์รวม

แสดงเพิ่ม...

โดยดำเนินงานร่วมกันระหว่าง Massachusetts Institute of Technology (MIT) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาสาขาคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (RDC/NECTEC) และหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการจัดการทรัพยากรน้ำ ในขั้นแรกประกอบด้วย กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติโดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ให้การสนับสนุนทุนวิจัยและสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิศึกษาพัฒน์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาโครงการมีระยะเวลาดำเนินงาน 4 ปี ตั้งแต่กันยายน 2541 ถึงสิงหาคม 2545 เริ่มดำเนินงานในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำป่าสักในระยะแรก โดยมุ่งประเด็นการวิจัยและพัฒนาในส่วนของระบบฐานข้อมูลและการแสดงผลบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) รวมถึงการพัฒนาเพื่อแสดงแบบจำลองบนระบบภูมิสารสนเทศทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ

”ซ่อน”

สัญลักษณ์สถาบันสารสนเทศน้ำ

2545

ระบบคอมพิวเตอร์บริการ (Terabyte Server) สำหรับเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบสำรองข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์บริการ (Server) ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคลประสิทธิภาพสูง 4 เครื่อง มีขนาดความจุ 1 Terabyte (TB) (ล้านล้านตัวอักษร) และระบบสำรองข้อมูลใช้ IDE Harddisk ขนาด 1.2 TB ใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์บริการ (Server) หลักของโครงการระบบเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย ซึ่งเก็บข้อมูลทรัพยากรน้ำและข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่นภาพตรวจอากาศจากเรดาห์และภาพถ่ายจากดาวเทียม
โทรมาตร

2546

เริ่มงานวิจัยโทรมาตร ร่วมกับ National Agiculture Research Organization (NARO) ประเทศญี่ปุ่น โครงการความร่วมมือในการจัดสัมมนา Field Server Workshop เพื่อการอบรมเชิงปฏิบัติการประกอบอุปกรณ์โทรมาตร (Field Server) ร่วมกับ National Agriculture Research Organization (NARO) ประเทศญี่ปุ่น โดยนำอุปกรณ์ระบบโทรมาตร ที่เรียกว่า Field Server

แสดงเพิ่ม...

ซึ่งเป็นเทคโนโลยีโทรมาตรที่มีประสิทธิภาพ และราคาถูก มาปรับใช้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ภายใต้โครงการเครือข่ายสารสนเทศการเกษตร และความร่วมมือในกลุ่ม Agriculture Working Group ของ APAN และมีการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือที่เรียกว่า Field Server Forum ขึ้นระหว่างหน่วยงานภายในประเทศที่สนใจจะนำไปใช้ประโยชน์

”ซ่อน”

สัญลักษณ์สถาบันสารสนเทศน้ำ

2547

16 มกราคม 2547 จัดตั้ง “สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร” ภายใต้ สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิธีลงนามความร่วมมือเพื่อจัดตั้ง “สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร” ระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กรมชลประทาน และสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร โดยมี ฯพณฯ สวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนาม โดยมีวัตถุประสงค์ของความร่วมมือ ดังนี้

แสดงเพิ่ม...

  1. เพื่อการจัดการสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
  2. เพื่อรวบรวม ประมวลผลข้อมูล ความรู้ และนำเสนอผลการวิจัยไปใช้และพัฒนาการจัดการทรัพยากรน้ำและการเกษตร
  3. เพื่อให้เกิดเครือข่ายการพัฒนาและใช้งานระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการทรัพยากรน้ำและการเกษตรดำเนินการเชื่อมโยงความร่วมมือทั้งด้านงานพัฒนาและระบบสนับสนุนข้อมูลเพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์กับหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)

”ซ่อน”

สัญลักษณ์สถาบันสารสนเทศน้ำ

2551-2552

27 ธันวาคม 2551 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) พ.ศ.2551 และในวันที่ 1 มกราคม 2552 พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันฯ มีผลใช้บังคับ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 125 ตอน 138 ก เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2551
สัญลักษณ์สถาบันสารสนเทศน้ำ

2553

พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing) ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing) เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับรองรับระบบการทำงานของคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ มีหน้าที่สำคัญ คือการประมวลผลขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการใช้พลังในการประมวลผลสูง งานที่ต้องใช้ระยะเวลาในประมวลผลนาน

แสดงเพิ่ม...

นับสนุนงานทั้งแบบงานประมวลผลแบบตามลำดับ (Sequential) หรือ High Throughput Computing และงานประมวลผลแบบขนาน หรือที่เรียกว่า High Performance Computing ซึ่งจะช่วยเร่งระยะเวลาในการประมวลผลทั้งในส่วนของการดึงข้อมูล การสำรองและกู้คืนข้อมูล รวมถึงการคำนวณที่ซับซ้อนจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ทำให้ได้ปริมาณผลลัพธ์มากขึ้นในช่วงเวลาเท่าเดิม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ได้ทั้งในการปฏิบัติงานปกติและในสถานการณ์ฉุกเฉิน

”ซ่อน”

High Perfomance Computing Timeline HII High Perfomance Computing Facilities
สัญลักษณ์สถาบันสารสนเทศน้ำ

2555

พัฒนาระบบคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ (NHC)พัฒนาต่อยอดการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยน “ข้อมูล” จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้งานระบบข้อมูลร่วมกัน ติดตาม เฝ้าระวัง รวมทั้งวิเคราะห์ และคาดการณ์สถานการณ์น้ำ สนับสนุนบริหารจัดการน้ำทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต อย่างมีเอกภาพ
สัญลักษณ์สถาบันสารสนเทศน้ำ

2562

พระราชกฤษฏีกาจัดตั้งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ 2562 อ่านเพิ่มเติม

อินโฟกราฟิก ความเป็นมา สสน.

ความเป็นมา สสน

อ่านเพิ่มเติม